พบกับ บทสัมภาษณ์ของ Korjoke Club ในนิตยสาร SME Startup ฉบับวันที่ 17 พฤศจิกายน 2557 นี้ นะครับ 
ในคอลัมน์ Work at Home "เปิดสตูดิโอ ดู 2 หนุ่ม ทำงานควิลท์" 
Text : กองบรรณาธิการ / Photo : กฤษฎา ศิลปไชยตามใจ
 
 

ลัดเลาะเข้าไปในซอยอินทราพร สตูดิโอเล็กๆ ภายในรั้วบ้านของ โอ๋-วรพันธุ์ ศรีบัวทอง

ในวันนี้ก็เหมือนเช่นเคย ที่จะได้เห็นภาพของโอ๋ และ ป๊อบ-สิทธิพงษ์ อารยางกู ขะมักเขม้นกับการเย็บผ้า ต่อผ้า ปักผ้าเพื่อบรรจงทำเป็นกระเป๋า ที่เรียกรวมๆ ว่างาน ควิลท์ (Quilt) และงานแอพปิเก้ (Applique)เป็นความสุขของคนที่เลือกทำงานที่บ้าน แบบไม่ต้องเร่งรีบ ไม่ต้องแข่งกับใคร นอกจากออร์เดอร์ลูกค้าที่มีเข้ามาอย่างมากมาย

เดิมทีทั้ง โอ๋และป๊อบ ก็เป็นมนุษย์เงินเดือน แต่ด้วยความที่ทั้งคู่ชอบงานฝีมือและฝึกปรือมานานจนมั่นใจ ประกอบกับเริ่มมีลูกค้าที่ติดใจในฝีมือระดับหนึ่ง จึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำหันมาทำกระเป๋างาน Quilt งานแอพปิเก้ อยู่ที่บ้านอย่างจริงจัง และแน่นอนว่าการเริ่มต้นงานอิสระที่ยังไม่คุ้นชิน จึงเลี่ยงไม่พ้นที่จะเจอปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นสินค้างานฝีมือแต่ราคาไม่ธรรมดาในตลาดที่เฉพาะ

“ปัญหาหนักๆ คือลูกค้าไม่ซื้อเลย เกิดจากการที่เขาไม่รู้จักเราไม่มั่นใจเรา เพราะเป็นสินค้างานฝีมือ ซึ่งถ้าลูกค้าไม่มาเห็นด้วยตา ไม่ได้สัมผัส ก็เป็นไปไม่ได้ที่เขาจะมีออร์เดอร์ เนื่องจากตอนแรกเลยเราขายผ่านทางเว็บไซต์ และเฟซบุ๊กเท่านั้นนั่นก็เป็นบทเรียน และทำให้เราไปเปิดร้านในวันเสาร์-อาทิตย์ที่หมู่บ้านสัมมากรอีกช่องทางหนึ่ง เพื่อให้ลูกค้าได้มาเห็นแล้วคุยกันต่อบนออนไลน์” ป๊อบกล่าว

นอกจากการเป็นนิช มาร์เก็ตแล้ว ขณะเดียวกันคนที่ทำงานควิลท์ขายก็มีอยู่ไม่ใช่น้อย แล้วจะเอาอะไรมาเป็นจุดขายล่ะ? ในเรื่องนี้ โอ๋กล่าวสั้นๆ ว่า เรา Made to Order เป็นการผลิตงานตามใจลูกค้า และเป็นผ้ชูายที่ทำงานฝีมือ ที่พอเห็นแล้วจะร้สึกน่าพิสมัย

“จุดเด่นของเราคือลูกค้าสามารถเลือกกระเป๋าในแบบฉบับของตนเองได้ เราไม่ได้บังคับให้ลูกค้าบริโภคในสิ่งที่เราสร้างลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนได้ทุกอย่าง เปลี่ยนสี เปลี่ยนแบบลายที่ตนเองต้องการได้ เรียกว่าเรา Made to Order นอกจากนี้สไตล์งานก็มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แม้จะได้รับแรงบันดาลใจจากญี่ปุ่น แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนไทย เช่น ญี่ปุ่นจะใช้ใยที่บาง เพราะจะได้ด้นได้ง่ายแต่ถ้าลูกค้าบางรายไม่ชอบ จะรู้สึกว่าเป็นถุงผ้าไม่ใช่กระเป๋าเราก็ใช้ใยที่หนาขึ้น รีดผ้ากาวลงไปด้วย ใส่ของก็จะไม่ย้วย

”ด้วยความที่วัสดุในการทำกระเป๋าทุกอย่างนำเข้าจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสายหนัง ตัวผ้า ทำให้มีต้นทุนสูง ประกอบกับเป็นงานฝีมือ ราคาจึงสูงตามไปด้วย อย่างกระเป๋าถือราคาจะตกอยู่ประมาณ 3,900-6,000 บาท ซึ่งแม้ในความรู้สึกคนทั่วไปจะแพง แต่สำหรับกลุ่มคนที่รักงานฝีมือแล้วเข้าใจดี

“การถือกระเป๋าแบบนี้ถือว่าได้ถือผลงานที่เป็นหนึ่งเดียวแล้วกล้าโชว์ ใช้ได้เกือบทุกโอกาสในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่ชอบ สั่งแล้วก็สั่งอีก แต่สำหรับคนที่ไม่ได้หลงใหลงานควิลท์อยู่ก่อนแล้ว เหตุผลที่เขาเลือกใช้คือกระเป๋าพวกนี้นำหนักจะเบากว่ากระเป๋าหนัง กระเป๋าหนังเวลาใช้บางทีจะปวดไหล่ด้วยนำหนักของหนัง ก็จะตัดสินใจซื้อ” ป๊อบกล่าว

สุดท้าย โอ๋ยังฝากข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะยึดการทำงานประเภทนี้เป็นอาชีพว่า แม้จะไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนอื่น เช่น การเดินทาง แต่การจัดการทางการเงินก็เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคำนวณต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าเช่าร้าน ฯลฯ เพื่อนำมากำหนดราคาขายได้ถูกต้อง และทำให้การทำงานฝีมือแบบนี้ที่บ้านมีทั้งความอิสระและอยู่รอดได้

   คอโจ้ก คลับ  งานควิลท์ SmartSME  

 
 
Korjoke Club (คอโจ้ก คลับ) งานแฮนด์เมด รับผลิตตามออเดอร์ Made To Order
 
ที่มา  : KorjokeClub Note

อ่านออนไลน์ได้ที่ : http://issuu.com/werepenninsular/docs/smestartup-november-2014
จัดลงอีกครั้งที่ : https://www.smethailandclub.com/startups-787-id.html?fbclid=IwAR1-nq2uVy-SBko48jZ0ijgUbAVzcBSOfHHDLnP8YbV488JYRz08AUJ2VjI


Download หนังสือได้ที่นี่  :